สถาบันความรู้เพื่อเสริมพลังท้องถิ่น

(Local goverment Capacity Building Institute)

กรอบแนวคิด 

เพื่อยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางความรู้ผ่านกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไก ข้อมูล ความรู้และความร่วมมือระดับประเทศโดยดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกหลักของการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เกิดการขยายผลลัพธ์และผลกระทบจากงานวิจัยไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการเชื่อมโยงและผลักดันสู่ระดับนโยบาย และลงมาสู่การปฏิบัติที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ที่จะนำไปสู่การได้ระบบนิเวศใหม่ทางการพัฒนาพื้นที่ โดยแนวทางการทำงานแบบ Co-work & Co-funded กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ด้วยกระบวนการดังนี้

  • การพัฒนาองค์ความรู้และกลไกการเปลี่ยนแปลงองค์กรกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม (Digital Transformation in Local Government) 
  • พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม การเงินและการคลังสาธารณะ และ การจัดการทรัพยากรสาธารณะ (Public Finance and Resource Management) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยนวัตกรรมทางการเงินและการคลัง 
  • สร้างกลไกใหม่เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge and Technology Transfer) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ เครือข่าย 
  • พัฒนานโยบายและกลไกการทำงานและลงทุนร่วม ระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ภาคประชาชนหรือเอกชน (Public Private Partnership) รูปแบบต่าง ๆ และ กลไกส่งเสริมกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับพื้นที่ (Social Enterprise) 
  • พัฒนานโยบายและกลไกการยึดโยงกับภาคประชาชนผ่าน ระบบข้อมูลเปิด (Open Data) และ พื้นที่การหารือ (Deliberative Space) 

ท้องถิ่นเป็นหน่วยบริหารจัดการภาครัฐที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด เป็นโครงสร้างสำคัญในการจัดบริการพื้นฐานให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ไวและตรงเป้ามากที่สุด รวมถึงเป็นพื้นที่การเรียนรู้ประชาธิปโตยที่สร้างความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งการเพิ่มขีดความสามารถของท้องถิ่นซึ่งมีถึง 7,850 แห่งของไทยจึงเป็นความท้าทายสำคัญ

เป้าหมาย

  1. เพิ่มความสามารถในการบริหารงานคลังและความเป็นอิสระทางการคลัง โดยการหนุนให้ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้เองมากขึ้น
  2. พลิกโฉมการบริหารงานท้องถิ่นด้วยดิจิทัล

การจัดการใหม่ของท้องถิ่นเพื่อประชาชน

Fiscal Autonomy

มาตรการที่ผ่านการทดลองแล้ว อาทิ การพัฒนาระบบงาน ฐานข้อมูล และกระบวนการบริหารจัดเก็บรายได้ท้องถิ่นมาตรการกระตุ้นเชิงพฤติกรรมศาสตร์การรับชำระภาษี/ค่าธรรมนียม ผ่านระบบออนไลน์การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในด้านการบริหารจัดเก็บภาษี มาตรการทางกฎหมายเพื่อเพิ่มรายได้ท้องถิ่น

การเพิ่มฐานรายได้ท้องถิ่นขยายผลผ่านการทำหลักสูตรผู้นำท้องถิ่นและผู้นำการพัฒนาเมืองด้วยนวัตกรรม

Digital Transformation

  • CONVERGOV เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาต่อยอดจาก NEXTGOV ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการประกอบด้วยระบบย่อย ได้แก่ ระบบงบประมาณ พัสดุ (ซื้อ/จ้าง/ควบคุม) การเงิน และบัญชี สามารถเชื่อมโยงรองรับฟังก์ชั่นต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อรองรับการวางแผน และการจัดทำของบประมาณ การจัดทำแผนงานโครงการของ อปท. ทั้งหมดในจังหวัด
  • รองรับการต่อเชื่อมข้อมูลจากระบบงานอื่นๆ ทั้งของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ