(Cultural Capital Management Institute)
“ทุนทางวัฒนธรรม” (Cultural Capital) อันรุ่มรวยของไทย สามารถเกื้อหนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในทิศทางบวกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานราก โดยพัฒนาทุนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นผลิตภัณฑ์และการบริการทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่ยังคงรักษาคุณค่าและอัตลักษณ์เดิมไว้ การฉายภาพอัตลักษณ์ใหม่ของชุมชนท้องถิ่นด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรม การส่งเสริมการหวนคืนของวัฒนธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่ที่สูญหายไป ซึ่งเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และการหลั่งไหลของเงินเข้าสู่พื้นที่เป็นจำนวนมากถือเป็นการพัฒนาพื้นที่โดยใช้วัฒนธรรมเป็นตัวจักรขับเคลื่อนที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม” (CulturalEconomy) จนนำไปสู่การร่วมสร้างสำนึกท้องถิ่นสืบทอดทุนทางวัฒนธรรมไปยังคนรุ่นหลังต่อไป

ข้อมูลและองค์ความรู้
ข้อมูลมรดกวัฒนธรรม
(CULTURAL ATLAS)
องค์ความรู้ของชุมชน
เครื่องมือสังเคราะห์ศักยภาพวัฒนธรรมและกูมิปัญญาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
แนวทางการพัฒนาพื้นที่
วัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนาผู้
ประกอบการทางวัฒนธรรม
แนวทางการสร้างสรรค์และ
ออกแบบผลิตภัณฑ์และ
บริการทางวัฒนธรรม
กิจกรรมมหกรรม “ฟื้นใจเมือง” ด้วย
“เศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน”

กิจกรรมภายในงาน อาทิ
- วงเสวนาแลกเปลี่ยนโดยคนในพื้นที่ภาควิชาการส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
- การจำหน่ายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น
- นิทรรศการจากผลงานวิจัยขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่
ฟื้นคุณค่า สร้างมูลค่า สร้างความยั่งยืน
